ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Bat flower
Bat flower
Tacca chantrieri Andre
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Dioscoreaceae (Taccaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Tacca chantrieri Andre
 
  ชื่อไทย เนระพูสีไทย, ค้างคาวดำ
 
  ชื่อท้องถิ่น ดีงูหล้า(คนเมือง), เส่แหง่เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ล่อเคลิน(ลั้วะ), เหนียบเลิน(ขมุ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ดีงูหว้าเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินรูปทรงกระบอก
 
  ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ เวียนออกเป็นรัศมี รูปวงรี รูปขอบขนาน ถึงรูปใบหอก ก้านใบแผ่เป็นกาบ
 
  ดอก ดอกช่อซี่ร่ม มีดอกย่อย 4-6 ดอก กลีบดอกสีม่วงแกมเขียวถึงสีม่วงดำ ใบประดับ 2 คู่ สีเขียวถึงสีม่วงดำ เรียงตั้งฉากกัน
 
  ผล ผลสดรูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม มีสันเป็นคลื่นตามยาว เมล็ดรูปไต มีรากอากาศ พุ่งขึ้นจากดินถึงลำต้น
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ "- ใบอ่อน ย่างไฟอ่อนหรือลวก กินกับลาบ(คนเมือง)
ใบ รับประทานจิ้มน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
ดอก รับประทานกับน้ำพริก(ขมุ)
ใบ รับประทานสดกับลาบ มีรสหวานขม(ปะหล่อง)
- ราก ต้มดื่มน้ำแก้อาการปวดหลังปวดเอว(คนเมือง)
ราก ดองเหล้าหรือกินใบสดแก้อาการเจ็บหลังเจ็บเอว บำรุงกำลัง และช่วยเจริญอาหาร(กะเหรี่ยงแดง)
ราก ต้มน้ำรวมกับหญ้าถอดปล้อง ดื่มแก้อาการปวดเมื่อย(ขมุ)
- ดอกและยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้ (มีความเชื่อว่า เด็กคลอดใหม่ ห้ามเข้าใกล้ เพราะไม่ดีต่อพ่อแม่เกิด)(ลั้วะ)"
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ พบได้ทั่วไปทุกภูมิภาคของประเทศไทย ในป่าดงดิบชื้น ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 500-1,500 เมตร ตามผืนป่าที่ได้รับความชื้นตลอดปี และมักเจอเป็นดงในเขตที่มีร่มเงาจากไม้ใหญ่ ใกล้แหล่งนํ้า
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง